วิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ wed blogเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนางสาวศิริลักษณ์ สุวนิชกุล

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คู่มือการจัดสเปคคอมสำหรับผู้ใช้งานด้านกราฟิกขั้นสูง



                                                                 คำนำ

    การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ด้านกราฟิกขั้นสูงเป็นสิ่งคัญในการเลือกศื้อคอมพิวเตอร์ใรระกดับผู้ใช้งานด้านนี้เป็นอย่างมากเพราะต้องมีความทนทานทันสมัยรวดเร็วอยู่เสมอดิฉันจึงจัดทำคู่มือด้สนกราฟิกขึ้นสูงขึ้นมา


ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกขั้นสูง

     ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกขั้นสูง (advanced graphic user) ซึ่งต้องแสดงผลงานในรูปแบบสามมิติ หรือ 3D animation ผู้ใช้ระดับนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในระดับการคำนวณระดับสูง เช่น การสร้างภาพในรูปแบบสามมิติ โดยใช้โปรแกรม Auto CAD, 3D Studio Max และ Maya เป็นต้น จึงควรจะเลือกประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เองเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้


 ลักษณะการซื้อซีพียู
การ เลือกซื้อซีพียูต้องพิจารณาเรื่องความเร็ว ความเร็วขั้นต่ำแปรเปลี่ยนไปตามเวลา โดยปกติจะดูว่าซื้อเพื่ออะไร เช่นถ้าซื้อใช้งานเป็นเพียงอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ในห้องเรียนให้นิสิตใช้ เพื่อเป็นการเรียกเข้าสู่อินเทอร์เน็ต สามารถใช้ซีพียูรุ่นต่ำที่มีขายในปัจจุบันราคาซีพียูในระดับต่ำนี้ การตัดสินใจจะเลือกซื้ออะไรมาใช้ คงต้องลองศึกษาจากหลายๆ องค์ประกอบ โดยเฉพาะการมองหารายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย รวมทั้งงบประมาณการลงทุนต่างๆ ที่มีอยู่ด้วย เทคนิคที่เกี่ยวกับซีพียูทั้งสองด้านนี้ สามารถหาได้ได้จากเว็บไซต์ของบริษัท คือwww.amd.com และ www.intel.com ผู้สนใจลองทำการศึกษาอย่างน้อยเป็นความรู้ที่จะมีประโยชน์ต่อไป
อันดับแรก ที่เราควรให้ความสำคัญ ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจำมาประกอบเอง หรือซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเซตก็ตาม คือการเลือกซีพียูนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นรุ่นและความเร็วของซีพียูตามระดับการใช้งานของเรา เพื่อเราจะได้ทราบรูปแบบอินเทอร์เฟส (Socket) สำหรับติดตั้งบนเมนบอร์ด เพื่อเลือกซื้อเมนบอร์ดที่ตรงกับรุ่นของซีพียูต่อไปการเลือกซื้อซีพียู
การเลือกซื้อ ซีพียู(CPU)
สำหรับการเลือกซื้อ ซีพียู  ซึ่งเป็นที่ที่สำคัญที่สุดซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงเพราะซีพียูเป็นตัวที่จะกำหนดอุปกรณ์อื่นๆด้วย  และเป็นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์  การที่เครื่องเราจะแรงและเร็วแล้ว  ซีพียูเป็นตัวกำหนดหลักแทบทั้งสิ้น   เพราะฉะนั้นผมจึงขอให้กำหนด  สเป็กการซื้อคอมพิวเตอร์  จากตัวซีพียูก่อนะครับ  จะขอเรียงลำคับการพิจารณาการเลือกซื้อดั้งต่อไปนี้
1.ความเร็วของ ซีพียู
ความเร็วของซีพียู   ซึ่งใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดนะครับ  โดยมีหน่วยเป็น “เฮิรตซ์ (Hz)”  ก็คือการที่ซีพียูทำงาน 1 ครั้งต่อ 1 วินาทีนั้นเอง  แต่ในปัจจุบันซีพียูนั้นมีความเร็วมากอยู่ในระดับ “กิกะเฮิรตซ์ (GHz)” แล้ว  เช่น 1 กิกะเฮิรตซ์  คือซีพียูทำงานได้ถึง 1 พันล้านครั้ง  ต่อวินาที  ยิ่งมีค่าสัญญาณนาฬิกามากเท่าไหร่ก็สามารถทำงานได้รวดเร็วเท่านั้น เช่น AMD Phenom 9650 2.3GHz
2.หน่วยความจำแคช(Cache)
หน่วยความจำแคชก็เป็นหน่วยความจำหนึ่งที่ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ  เพราะแคชมีหน้าที่ในการจัดเก็บคำสั่งและข้อมูลที่ได้ใช้บ่อยๆ  เพื่อส่งไปยังซีพียู  ซึ่งแคชเองทำงานร่วมกับแรมเพื่อเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง 2 อุปกรณ์  ให้เชื่อมต่อกันเพราะฉะนั้นแล้วยิ่งมีแคชมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเร็วเท่านั้นด้วย
11-09-52 2-07-19
ในปัจจุบันเองได้มีการเพิ่มเทคโนโลยี Pre-Fetch ในบางรุ่นจะมี ที่มีแคชถึงระดับ L3 ทำหน้าที่ในการคอยอ่านข้อมูลจากแรมมายังแควตลอกเวลา  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น  โดยความเร็วทั้ง 3 ระดับดังนี้
แคชระดับที่ 1 (L1) เป็นแคชขนาดเล็ก  เป็นแคชที่มีขนาดเล็กที่สุด  อยู่แค่ 32-128 KB เท่านั้น  และอยู่ใกล้ชิดกับซีพียูมากที่สุด
แคชระดับที่ 2 (L2) จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาเพราะจะทำการเก็บข้อมูลจากแรมเป็นหลัก
แคชระดับที่ 3 (L3) อยู่คั่นกลางระหว่างแรมกับแคช L2 โดยจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อนซึ่งมีประมาณ 2-8 MB และจะอยู่ใกล้กับบัสเพื่อสามารถที่จะถ่ายโดยข้อมูลไปยังส่วนต่างๆได้ง่ายขึ้น
3.บัส(BUS)
ถือได้ว่ามีความสำคัญเหมือนกัน เพราะ บัสคือ นำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบัสในคอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) ซึ่งมีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz)  จะมีค่า FSB อย่างเช่น FSB 1066 เป็นต้น
4.ซีพียู จากค่ายต่างๆ
สำหรับซีพียูนี้ก็มี 2 ค่าย ใหญ่ที่ผลิตออกมาให้เราได้ใช้กันคือ Intel และ AMD
Intel เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด แล้วยังเป็นผู้ผลิต ซีพียูรายแรกอีกด้วย  สำหนับซีพียู  ที่ Intel ผลิตนั้นก็มีหลาย รุ่นออกมาให้เลือก และต่างมีเทคโนโลยีที่ต่างกัน
เลือกซื้อเมนบอร์ด
คนส่วนใหญ่ที่กำลังจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มักหาข้อมูลทำการบ้านแต่เฉพาะในส่วนหลักสองส่วนใหญ่ ก็คือ ซีพียู และ กราฟฟิคการ์ด ซึ่งก็จริงที่ทั้งสองส่วนนี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนที่ได้ฟังสเปกสองตัวนี้ถึงกับร้องอู้หู้เมื่อได้ยินว่าเราใช้ Intel® Core i7 940 หรือ ได้ยินว่าเราใช้กราฟฟิคการ์ด NVIDIA Geforce295GTX เพราะทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวที่ตอบสนองความแรงในการประมวลผลไม่ว่าด้านตัวเลข หรือ ภาพ 3D แต่เคยมีใครได้สังเกตไหมว่าจริงๆ แล้วเรายอมลดสเปกอุปกรณ์บางอย่างลงไปเพื่อให้ได้มาซึ่งซีพียูหรือกราฟฟิกการ์ดที่แรง แต่เรากลับไม่ได้สนใจว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อเพื่อใช้กับซีพียูและกราฟฟิกการ์ดนี้ มีประสิทธิภาพที่จะดึงความสามารถของซีพียู กราฟฟิกการ์ด และ ทนทานต่อการใช้งานอย่างต่อเนื่องของเราเพียงใด เทคโนโลยีที่ใช้เป็นอย่างไร มีซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัย และ ความสะดวกให้กับเราไหม เพราะตอนนี้ซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับตัวเมนบอร์ดอาจจะเป็นตัวตัดสินที่ทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกใช้เมนบอร์ดด้วยส่วนหนึง เกริ่นมาซะเยอะแล้ว วันนี้ผมจะใคร่ขออาสานำความรู้ดีๆ ในการตัดสินใจเลือกซื้อเมนบอร์ดคุณภาพครับ ตามมาเลยครับ …..
Main Board หรือ Motherboard คือ แผงวงจรหลักทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ต่างๆ เพื่อทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีรอมไดรฟ์ ที่ผ่านทางสายเคเบิลหรือแม้แต่การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียงก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำงานเข้ากันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพ
 เลือกซื้อแรม
สำหรับแรมผมได้กล่าวไว้แล้วว่ามีหน้าอะไรบ้าง  สำหรับแรมก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเช่นกันเพราะฉะนั้นแล้วเราควรเลือกให้ถูกวิธีด้วย  สำหรับขึ้นตอนการเลือกซื้อแรม  มีขั้นตอนการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
1.ประเภทของแรม
แน่นอนครับสำหรับประเภทของแรมนั้น  ก็จะถูกจำกัดด้วยเมนบอร์ดที่เราจะเลือกซื้อเช่นกัน  โดยเมนบอร์ดก็จะต้องถูกบังคับจากซิปเซต  สำหรับคนที่จะซื้อในขนาดนี้จะมีอยู่ 2 ประเภทที่ผมจะแนะนำนะครับ ซึ่งทั้ง 2 มีความเร็วที่แต่ต่างกัน
1.1 DDR 2
สำหรับ DDR 2 นั้นมีความนิยมเป็นอย่างยิ่งในขนาดนี้ถือเป็นแรมตลาดเลยที่เดียว  เพราะในปัจจุบันนี้เมนบอร์ดเองก็สามารถรองรับการทำงานของแรมชนิดนี้ได้หมดแล้ว  แล้วราคาในขณะนี้ก็มีราคาที่ไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ  และในเรื่องของความเร็วก็สามารถใช้ได้เร็วมากเลยที่เดียว  มีความเร็วตั้งแต่ 400-1,066 MIz ใช้แรงดันไฟฟ้า 1.8 V
1.2  DDR3
เป็นแรมประเภทมี่พึ่งมาใหม่ล่าสุดเลย  ซึ่งมีความเร็วสูงสุด  ถึง 1,600-2,000 MHz เลยทีเดียวครับ  แล้วใช้แรงดันไฟฟ้าแค่เพียง 1.5 V เท่านั้น  ถือได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าทุกประเภทแต่ปัจจุบันนี้ได้มี DDR4 มาแล้วเอาไว้คราวหน้าตอนที่มีคนใช้เยอะๆ  จะมาเล่าให้ฟังนะครับ ส่วนราคาตอนนี้ยังสูงอยู่  แต่ถ้าใครต้องการซื้อหรือมีตังพอไม่ขัด ครับ  เพราะว่ากำลังจะเป็นที่นิยมกันแล้ว  แต่ต้องดูด้วยว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับหรือไม่  เพราะว่ายังมีเมนบอร์ดที่ยังไม่รองรับอีกเยอะครับ  ที่สำคัญ DDR3กับ DDR2 ใช้สล็อตเดียวกันไม่ได้เพราะฉะนั้นแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะใส่ผิด
ddr3-vs-ddr2-ram
ลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
สำหรับฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก  เพราะฉะนั้นแล้วจึงมีการเลือกซื้อให้เหาะสมกับความต้องการของเรา  ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ได้มีราคาต่อความจุถูกมาก  และมีความเร็วที่แตกต่างกัน  จะข้อแนะนำการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
1.ประเภทของ ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ๆ กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน  คือ  (สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อภายนอกจะขอกล่าวในลำดันถัดไป)
– แบบ IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ ที่จะบอกว่ารุ่นเก่าแล้วก็ว่าได้  เพราะว่ามีรุ่นใหม่ที่เร็วกว่าประหยัดทั้งพื้นที่ประทั้งพลังงานได้ดีกว่า  และเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะราคาแพงกว่า SATA ด้วยซ้ำ
– แบบ SATA เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามามนตอนนี้และได้มีความนิยมเป็นอย่างมาก  เพราะว่าในเมนบอร์ดรุ่นใหม่นั้นก็ลองรับได้หมดแล้ว  และมีราคาที่ถูกกว่า ฮาร์ดดิสก์ แบบSATA
sata-ide_lg

2.ขนาดของความจุ
ความจุของฮาร์ดดิสก์หรือพื้นจัดเก็บข้อมูล  นั้นมีความสำคัญว่าเราจะใช้งานประเภทใดและต้อง  เลือกความจุขนาดใดใครที่ชอบทำงานด้านมัลติมีเดียก็ต้องเลือกความจุมากๆ ปัจจุบันนี้มีความจุ ถึง 2 GB ไปแล้วซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจนลืมไปเลยว่าซื้อมาตอนไหน  ไม่รู้จักเต็มสักที  แต่ก็ยังมีราคาที่สูงอยู่นั้นเอง
3.ความเร็วรอบ
ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นย่อมมีผลโดยตรงต่อความเร็วของฮาร์ดดิสก์  คือถ้าฮาร์ดดิสก์มีความเร็วรอบสูงแล้ว  ข้อมูลก็จะเคลื่อนมาถึงหัวอ่านได้อย่างรวดเร็วขึ้น  ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นมีหน่วยเป็น “รอบต่อนาที (rpm)  ในปัจุจบันความเร็วรอบนั้น 5,400-7,200 rpm แล้ว  และยังมีการพัฒนาความเร็วได้ถึง 10,000 rpm
4.บัฟเฟอร์ของ ฮาร์ดดิสก์
บัฟเฟอร์ก็คือหน่วยความจำแคชของฮาร์ดดิสก์นั้นเองครับ  เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเร็วและประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์   ถ้าเกิดฮาร์ดดิสก์ไหนที่มีขนาดบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาที่จะกลับไปนำข้อมูลนั้นมาใช้ซ้ำอีก  โดยการทำงานนั้นจะทำงานรวมกับแรม  แรมจะนำข้อมูลจากบัฟเฟอร์มาใช้โดยตรง  ในปัจจุบันแล้วขนาดบัฟเฟอร์  ก็มีจำนวน 8-32 MB ไปแล้ว
5.ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล
ช่วงเวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Seek Time) คือช่วงเวลาที่ตำแหน่องบนจานของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนมาพอดีกับตรงที่หัวอ่านพอดี  ความเร็วนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์เอง  ยิ่งมีความเร็วที่น้อยก็สามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์นั้นอ่านเขียนได้เร็วขึ้น
เลือกซื้อการ์ดแสดงผล
1. ตรวจสอบชนิดการเชื่อมต่อการจอภาพที่คุณต้องการ รูปแบบการเชื่อมต่อที่เมนบอร์ดรองรับ หรือหากซื้อเมนบอร์ดแล้วให้พิจารณาว่าจะใช้การ์ดแสดงผลที่เชื่อมต่อในรูปแบบใด หรืออาจจะพิจารณาเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อ จากนั้นจึงซื้อเมนบอร์ด และซีพียูก็ได้
2. ตรวจสอบการเข้ากันได้ของการ์ดแสดงผล โดยการ์ดแสดงผลจะมี AGP2x/4x/8x นอกจากนี้ยังมีแรงดันไฟที่ต่างกัน เช่น 3.3 โวลต์อีกด้วย
3. พิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้เมนบอร์ดที่รองรับการ์ดแสดงผลแบบใด แล้วจึงเลือกการ์ดแสดงผลที่ต้องการ หรือหากต้องการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลแบบคู่ก็ต้องเลือกตั้งแต่เมนบอร์ดเลยทีเดียว
4. ตรวจสอบให้ดีว่าโปรแกรมหรือเกมที่คุณใช้นั้น รองรับเทคโนโลยีใดบ้าง แล้วจึงเลือกให้เหมาะสมกับงานที่เราใช้จริง
คุณสมบัติต่าง ๆ ที่เราควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผลในปัจจุบัน จะใช้มาตรฐาน PCI Express ส่วนรุ่นเก่าจะใช้มาตรฐาน AGP ซึ่งมีอยู่ 3มาตรฐานด้วยกัน คือ AGP 2X, AGP 4X, และ AGP 8x  ซึ่งทำงานที่ความเร็ว 133 MHz, 266MHz และ 533 MHz ตามลำดับ    เราจำเป็นต้องเลือกการ์ดที่สนับสนุนการทำงานร่วมกับเมนบอร์ดด้วย   เพราะหากซื้อการ์ดที่ทำงานด้วยความเร็วสูงกว่า    ก็ไม่สามารถทำ
งานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่ดีนั่นเอง
เลือกซื้อจอแสดงผล
จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสงเป็นภาพบน จอภาพ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.จอภาพ CRT
images-124
คือ จอภาพที่รับสัญญาณภาพแบบอะนะล็อก พัฒนามาจากหลอดภาพโทรทัศน์ด้วยการใช้หลอดภาพในการแสดงผลเช่นเดียวกันคะ จอซีอาร์ที จะทำงานโดยอาศัยหลอดภาพที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ซึ่งมีสารประกอบของฟอสฟอรัสฉาบอยู่ที่ผิว เมื่อถูกแสงอิเล็กตรอนมากระทบ  สารเหล่านี้เจะกิดการเรืองแสงขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง
2. จอภาพ LCD
download4
จอภาพ LCD คือ จอแสดงผลแบบ (Digital ) ที่ใช้วัตถุที่เป็นผลึกเหลว (liquid crystal) แทนการใช้หลอดภาพในจอซีอาร์ที และใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการผลิตแสงสว่าง จึงทำให้จอภาพแอลซีดีใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าจอแบบซีอาร์ทีประมาณหนึ่งในสามโดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น
3. จอภาพ LED
download-12
จอภาพ LED ใช้หลอดแอลอีดีมาเรียงกันบนพาแนลแล้วทำให้เกิดภาพด้วยการติด ดับของหลอดแอลอีดีซึ่งก็ได้ภาพที่ตาเรามองออกมา ซึ่งในเหล่านี้มันยังมีราคาสูงมากๆ
ความเหมาะสมกับการใช้งาน
1. งานเอกสาร หรือ ในสำนักงาน ควรเลือกจอภาพ ขนาด 17-19 นิ้วเพื่อถนอมสายตา
2. งานกราฟฟิก ควรเลือกจอภาพ ขนาด 19-21 นิ้ว
3. งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ ควรเลือกจอภาพ ขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว
4. ใช้งานทั่วไป 14-15 นิ้ว
หลักการเลือกซื้อจอภาพคอมพิวเตอร์
1. ควรเลือกจอภาพขนาด 15 นิ้วขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพราะปัจจุบันจอภาพ 15 นิ้ว มีราคาสูงกว่าจอภาพขนาด 14 นิ้วเล็กน้อยเท่านั้น
2. ควรเลือกจอภาพที่มีค่าระยะด็อตพิชต์ต่ำๆ เพราะจะทำให้ภาพออกมาคมชัด
3. เลือกจอภาพที่สามารถเลือกความละเอียดได้หลายโหมด
4. ควรเลือกแบบจอแบน เพราะจอแบนจะมีคุณสมบัติในการหักเหของแสงสะท้อนที่ตกกระทบบนจอภาพออกไปในทิศทางที่หลบออกจากสายตาผู้ใช้
5. ตรวจดูปุ่มรับการควบคุมจอภาพต่างๆ ว่าสามารถปรับอะไรได้บ้าง ใช้งานง่ายและสะดวกหรือไม่
6. จอภาพที่นิยมใช้ ได้แก่ ADI, CTX, LG, MAG, Panasonic,  Philips,  SONY,  Sumsung, Viewsonic เป็นต้น
การรับประกันและการบริการหลังการขาย
ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อและจ่ายเงินนั้น  ควรตรวจสอบดูให้ดีว่า printer ที่เราซื้อมานั้นมีการรับประกันหรือไม่อย่างไรบ้าง  เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลังหากเกิดปัญหาขึ้น   หรือมีการบริการอื่นๆ อีกหรือไม่  เช่น  จัดส่งฟรีถึงบ้าน,  สามารถออกใบกำกับภาษีให้สำหรับลูกค้าที่เป็นองค์กรหรือบริษัทด้วย,  มีช่องทางการติดต่อกรณีมีปัญหาที่สะดวกสบาย  เช่น  มี call center  หรือมีอีเมล์สำหรับรับแจ้งปัญหาต่างๆ
ด้วยหลักการเลือกซื้อ printer ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คงพอจะทำให้คุณผู้อ่าน  สามารถซื้อ printer ที่คุ้มค่าและเหมาะสมได้มากที่สุด  ในบทความต่อไป  ผมจะขออธิบายรายละเอียดของ printer ชนิดต่างๆ


การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

ซีพียู
รุ่น Intel Core 2 Duo, Intel Core 2 Quad, i7 หรือ AMD Athlon 64×2
แรม
ชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 2GB ขึ้นไป หรือใช้ขนาด 1GB จำนวน ๒ แถว เสียบลงในสล็อตแบบ Dual-channel
เมนบอร์ด
รองรับเทคโนโลยี Dual-channel ที่ช่วยเพิ่มแบนต์วิธของแรม และเทคโนโลยี RAID มีสล็อตPCL Express ×16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อาจเลือกแบบ On Board เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดบรรจุ 350 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCI Express ที่มีขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 512MB ขึ้นไป ชิปแสดงผลที่ควรเลือกnVidia GeForce FX 8600หรือ 9600ขึ้นไป หรือ ATi Radeon HD340ขึ้นไป
การ์ดเสียง

ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน

ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbps หรือ อาจสูงถึง 1 Gbpsก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storage

ไดว์ฟDVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท

จอแสดงผล

ขนาดจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๒๒ นิ้ว
เครื่องสำรองไฟฟ้า

ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐ โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป

 ในด้านของฮาร์ดแวร์ที่จัดมานั้น เน้นในเรื่องของความแรงที่สอดคล้องกัน แม้ว่าซีพียูจะเป็นปัจจัยสำคัญ โดยวาง Intel Core i5 เป็นหัวใจหลักในการทำงาน แต่ในความแรงแบบจัดจ้านในแบบ 4-Cores/ 4-Threads ในซีรีส์ Gen.4 (Haswell) มาให้ก็ตาม แต่ก็เสริมความแรงด้วยแรมความจุ 16GB แต่เป็นความเร็ว DDR3 1866MHz มาเสริมช่องทางสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ได้ดี อีกทั้งเมนบอร์ดที่เลือกไว้ ก็รองรับการอัพเกรดได้สบาย ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดดิสก์ กราฟิกการ์ดหรือแรมก็ตาม เมื่อประสานร่วมกับ SSD 120GB จาก Samsung 840 Evo ที่ใช้ร่วมกับการติดตั้งโปรแกรมทำงานบางส่วน ก็ช่วยให้การเปิดไฟล์หรือการเรนเดอร์ภาพกราฟิกได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมี WD Black series อีก 1TB มาช่วยในกรณีที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในการเก็บผลงาน แม้ว่าจะไม่ได้ใส่กราฟิกการ์ดที่เป็นแบบ Cutting-edge เฉพาะในงานกราฟิกก็ตาม แต่ในหลายๆ ส่วนก็เอื้อประโยชน์ให้กับงานกราฟิกแต่ละประเภทได้ดี โดยเฉพาะในเรื่องของการโหลดไฟล์ การประมวลผลและการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว


เป็นสเปกคอมพ์อีกชุดหนึ่ง ซึ่งออกมาเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ที่กำลังมองหาทางออกในการทำงานบนซอฟต์แวร์กราฟิก ซึ่งเป็นการใช้งานภายในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กที่ราคาไม่สูงเกินไปนัก ที่สำคัญหลายๆ ส่วนก็น่าจะตอบโจทย์ร่วมกับซอฟต์แวร์เฉพาะทางได้ดีทีเดียว

ถ้าทำงานกราฟิกด้วยเล่นเกมดเวยแนะนำให้ซื้อ




อุปกรณ์
ราคา
Aerocool QS-200 Lite USB3.0
1200
              XFX 550W.                                             
1900
DVD LG 24
510
GTX660 Gigabyte OC 2GB  
7700
Western 1TB black
2710
Corsair Vengeance 8GB(4GB*2)
2790
Gigabyte H77M-D3H 
2450
Core i5 3570       
6300


รวม 24780

ทำงานกราฟิกแต่ไม่เล่นเกมเลย

อุปกรณ์
ราคา
                                 Core i7 3770
9130
Gigabyte H77M-D3H
2450
Kingston HyperX 8GB(4GB*2)
1890
Western 1TB black
2720
Quadro 410
4800
DVD LG 24X
510
XFX 550W.
1900








รวม 24600

คำแนะนำ
1.ใช้ Intel ดีกว่า AMD ในงานพวกนี้ เพราะ Intel แรงกว่า
2.RAM 16GB เพิ่มอีกประมาณ 1000 บาท Geil Dragon RAM 8GB*2=3000
3.ไม่เล่นเกมเลยใช้ Quadro หรือ Firepro ดีกว่าพวก Geforce กับ Radeon
4.ถ้าจะเพิ่ม SSD ลด HDD เป็น blueก็พอครับ
5.เคส ควรมี USB3.0 เพื่อความรวดเร็วในการส่งข้อมูล (แต่ต้องมี USB2.0 )










วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พรบ.คอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐
                       

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรา ๒[๑]  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓  ในพระราชบัญญัตินี้
ระบบคอมพิวเตอร์ หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการ หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
                       

มาตรา ๕  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖  ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘  ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙  ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐  ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒  ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๑๓  ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔  ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๕  ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖  ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๗  ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

พนักงานเจ้าหน้าที่
                       

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๙  การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน
หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐  ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒  ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓  พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ...อ่านต่อเพิ่มเติม